รถไม่มีประกัน ใครจ่าย หากเกิดอุบัติเหตุ
ปัจจุบันเหตุผลหลักที่ใช้รถกันก็เพื่อความสะดวกสบาย ดังนั้นคงไม่มีใครอยากให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหรอกจริงไหม แต่คนที่ใช้รถยนต์บนท้องถนนเป็นประจำคงจะเข้าใจดีว่าการใช้รถกับการเกิดอุบัติเหตุถือเป็นเรื่อคู่กัน ว่าไปแล้วก็ไม่น่าเชื่อเพราะไม่ว่าเราจะขับรถด้วยความระมัดระวังขนาดไหนอุบัติเหตุก็ยังคงมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยปกติแล้วการใช้รถยนต์นั้นก็มีค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่เราต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว เช่น ค่าบำรุงรักษาตามระยะทาง ค่าซ่อมแซมความเสียหายตามอายุการใช้งาน เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหนึ่งอย่างที่หลายๆ คนเลือกที่จะมองข้าม หรือไม่เลือกให้ดีๆ นั่นก็คือ ประกันภัยรถยนต์ เพราะเห็นว่า หากเราขับรถอย่างระมัดระวังก็คงไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอย่างแน่นอน
โดยปกติแล้วการใช้รถยนต์มักจะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่เราต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงรักษาตามระยะทาง ค่าซ่อมแซมความเสียหายตามอายุการใช้งาน รวมไปถึงค่าตกแต่งเครื่องยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายที่หลายคนเลือกที่จะมองข้าม หรือไม่ใช้ความระมัดระวังในการเลือกนั่นก็คือ การทำประกันภัยรถยนต์ เพราะเห็นว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุแน่นอนหากเราขับรถด้วยความระมัดระวัง
และถ้าหากว่ารถเราไม่มีประกันภัยรถยนต์ แล้วมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเราจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
1. ค่าซ่อมรถคู่กรณี
หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้วพิสูจน์ได้ว่าเราเป็นฝ่ายผิด สิ่งแรกที่จะต้องพบเจอก็คือ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถของคู่กรณี (คนขับหรือเจ้าของรถ) จะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้กับฝ่ายตรงข้ามตามที่ร้องขอหรือตามการประเมินของอู่ซ่อมรถที่คู่กรณีแจ้งมาให้ช่วยประเมินความเสียหาย นอกจากนี้เรายังไม่มีที่ปรึกษาหรือผู้ช่วยในการเจรจาต่อรองอีกด้วย
2. ค่าชดเชยกรณีมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ในกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะมีพระราชบัญญัติรถยนต์ ที่ใช้บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมีในส่วนนี้ แต่บางครั้งอาจไม่เพียงพอกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นเราอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมส่วนที่เกินมาด้วยตนเอง ถ้าจำนวนเงินเพียงเล็กน้อยก็คงไม่เป็นไรมาก แต่ถ้าเป็นจำนวนเยอะและเราไม่สามารถจ่ายได้ อาจเป็นปัญหาที่เราต้องยืมเงินจากผู้อื่นเพื่อชำระส่วนนี้จนกลายเป็นหนี้ก้อนโตตามมา
3. ค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่นๆ
ในกรณีที่เราขับรถไปชนกับทรัพย์สินสาธารณะอื่น ๆ เช่นทรัพย์สินสาธารณะของรัฐ ทรัพย์สินทางราชการ เป็นต้น หากรถของเราไม่มีประกัน เรา (คนขับหรือเจ้าของรถ) จะต้องจ่ายค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองซึ่ง หากชนกับตัวอย่างทั้งสองที่เรายก สามารถรับประกันได้เลยว่าความเสียหายนั้นไม่เล็กอย่างแน่นอน ถ้าเราลองเปรียบเทียบกับราคาประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ บอกได้ว่าสามารถซื้อประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ได้หลายปี
4. ค่าประกันตัวกรณีถูกควบคุมตัว
ในกรณีนี้เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วปรากฏว่าเราเป็นฝ่ายผิดอาจส่งผลให้เราถูกควบคุมตัวเอาไว้ แล้วยิ่งรถของเราไม่มีประกันรถยนต์ด้วยแล้ว เรา (คนขับหรือเจ้าของรถ) จะต้องจ่ายค่าประกันตัวเองทั้งหมด แต่ถ้าหากว่าเราได้ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ ก็จะช่วยให้เรามีความคุ้มครองในส่วนนี้ ผลก็คือทางบริษัทประกันจะช่วยประกันตัวให้เรานั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก moneyguru.co.th